เคยไหมครับกับความรู้สึกว่า “ห้องนี้ไม่เก็บเสียงเลย” หรือ “ห้องนี้เงียบดีจัง” หรือ “ห้องนี้เสียงก้องจัง” นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับห้องทุกห้องอันเนื่องมาจากการออกแบบการควบคุมเสียง ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นห้องนอนที่พักอาศัย หรือว่า ห้องทำงานในออฟฟิศ เพราะเสียงที่ไม่ได้มาตรฐานสร้างความรบกวนเพียงน้อยนิด ก็สามารถทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะเพียงแค่หงุดหงิดหัวร้อนนิดหน่อยจากเสียง ก็อาจทำให้ชีวิตเราผิดพลาดได้แล้ว
ดังนั้น การออกแบบห้องจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศเสียงที่ดี ที่จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้น ซึ่งต่อจากนี้ไป เราจะไปดูกันว่าหลักการเบื้องต้นที่เป็นแนวทางในการออกแบบห้องนั้น ควรทำอย่างไร เพื่อให้เราสามารถควบคุมเสียงได้อย่างเหมาะสม
การออกแบบเสียงเพื่อการใช้ชีวิต
การออกแบบอะคูสติก หรือ Acoustic Control คือการออกแบบห้องให้สามารถควบคุมเสียงได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการทำกิจกรรมและดำเนินชีวิตที่ราบรื่น ซึ่งฟังเผินๆ อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของการออกแบบดนตรีหรือเปล่า ตรงนี้ไม่ใช่นะครับ เพราะคำว่า Acoustic นั้น มีความหมายอย่างกว้างว่าหมายถึง “ความรู้เรื่องเสียง” ที่มีหลักการและศาสตร์ต่างๆ รองรับ ให้สามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
หลักการออกแบบอะคูสติกของห้องเบื้องต้นนั้น มีหลักคิดง่ายๆ 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. ป้องกันเสียงจากภายนอก ไม่ให้เสียง เข้า-ออก ได้จนเกินพอดี
“Reduce Sound Transmission Between Rooms” หรือ การลดเสียงเข้า-ออก ระหว่างห้อง ถือเป็นหัวใจสำคัญแรกที่เราจะต้องคำนึงถึง เพื่อการออกแบบให้ห้องได้รับเสียงที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการจัดการกับขั้นตอนนี้นั้น ก็คือการพิถีพิถันตั้งแต่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ที่จะเลือกใส่วัสดุที่สามารถลดเสียงจากภายนอกเข้ามาภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากเราเลือกใช้วัสดุที่ปล่อยให้เสียงเข้ามาได้ง่ายเกินไป ก็จะทำให้ห้องของเราเสียงดัง และก่อความรำคาญได้ง่ายจนอยู่ได้อย่างไม่มีความสุขนั่นเอง
2. การควบคุมเสียงภายใน ให้ไม่สะท้อนย้อนทำร้ายตัวเราเอง
“Control Sound Reverberation in the Room” หรือ การควบคุมการสะท้อนของเสียงในห้อง เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำนอกเหนือจากการลดเสียงเข้าออกจากภายนอก เพราะหากเราไม่ทำการควบคุมการสะท้อนภายในห้องให้เหมาะสมแล้ว เสียงที่ผ่านเข้าห้องเรามาจากภายนอก แม้จะถูกลดทอนระดับเสียงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังสามารถเข้ามาสะท้อนภายในห้องเรา เกิดเป็นเสียงก้อง ที่สร้างความรำคาญใจได้
ในขณะเดียวกัน เสียงที่เกิดจากภายในห้องเราเอง ที่ไม่ได้รับการควบคุมจากภายใน ก็จะก้องสะท้อนจนทำให้มีประสิทธิภาพลดลง ผู้ฟังหรือผู้รับสารอาจจะไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ได้ยินไม่ชัด หรือลดอรรถรสของเสียงนั้นลง อย่างเช่นในห้องประชุมที่เสียงก้องเกินไปจนผู้ร่วมประชุมฟังไม่รู้เรื่อง ฟังไม่ทั่วถึง หรือห้องแสดงดนตรีที่เสียงสะท้อนเยอะเกินไปจนทำให้เสียงนักร้องถูกลดความไพเราะลงได้ เป็นต้น นั่นเองจึงทำให้ในการออกแบบห้อง ต้องออกแบบให้มีวัสดุที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี และมีปริมาณที่เหมาะสมสำหรับห้องแต่ละประเภทด้วย
เทคนิคการแก้ปัญหาเสียงก้อง
ชีวิตคนเราส่วนใหญ่ ล้วนใช้เวลาเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องน้ำ ห้องทำงาน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องประชุม ฯลฯ ซึ่งหากการออกแบบห้องไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีในเรื่องเสียงให้เราได้แล้วล่ะก็ เชื่อเหลือเกินว่าความสุขในชีวิตเราก็จะถูกลดทอนลงไปเป็นจำนวนมาก
เพราะคงไม่มีใครนอนหลับอย่างมีความสุขได้ภายในห้องที่ถูกเสียงรบกวนจากโลกภายนอกได้ง่าย ไม่มีใครมีความสุขได้ในห้องทำงานที่เต็มไปด้วยเสียงสะท้อนของการพูดคุยกันของพนักงาน และคงไม่มีใครมีความสุขได้กับการไปชมคอนเสิร์ตศิลปินดังในห้องแสดงดนตรีสุดหรู แต่ว่าไม่สามารถทำให้ได้รับฟังเสียงอันไพเราะได้อย่างที่ควรจะเป็น
ฉนวนกันเสียง: ออกแบบห้องอย่างไร ให้ควบคุมเสียงได้อย่างเหมาะสม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/