“มิเตอร์ไฟฟ้า”เรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านต้องรู้ เพราะจะเป็นการวัดค่าไฟฟ้าที่คุณใช้ไปทั้งหมดในแต่ละเดือน อีกทั้งคุณยังจะได้ทราบถึงวิธีการดูมิเตอร์เพื่อที่คุณจะสามารถนำวิธีนี้ไปใช้ในการดูหน่วยของค่าไฟและสามารถตรวจสอบราคาของค่าไฟได้เองและมีความสะดวกในการติดตั้งอีกด้วย เพื่อให้คุณสามารถใช้ไฟและคำนวณรวมถึงการเลือกติดตั้งมิเตอร์ในแต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับบ้านของคุณอีกด้วย
1. รู้จักมิเตอร์ไฟ
ก่อนจะไปเลือกใช้มิเตอร์ และ ตรวจสอบการใช้งานที่ถูกต้องของมิเตอร์ที่ถูกต้อง คุณจะต้องรู้จักกับสิ่งนี้ก่อนซึ่งมีชื่อเต็มว่า Kilowatt-hour Mete หรือที่เราเรียกกันว่า มิเตอร์ไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งจะทำหน้าที่ในการวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่คุณได้ใช้ไปภายในบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ โดยมีหน่วยการวัดเป็น 1 กิโลวัตต์ ต่อ ชั่วโมง โดยตัวเลขที่คุณจะสามารถคำนวณได้บนหน้าปัดของมิเตอร์นั่นเอง
ซึ่งบิลค่าไฟในแต่ละเดือนที่คุณจะต้องชำระนั้นจะมาจากการจดตัวเลขบนมิเตอร์รวมถึงกำลังไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ไป ซึ่งจะนำไปคำนวณกับขนาดของแอมแปร์เพื่อคิดราคาค่าไฟนั่นเอง
2. มิเตอร์ไฟมีประเภทใดบ้าง
มิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดค่าของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้แต่ละเดือนนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทเช่น ขนาดของมิเตอร์ วัตต์ เฟส จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส
ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับบ้าน และ คอนโด เนื่องจากมีการใช้กำลังไฟฟ้าไม่มาก โดยมิเตอร์ไฟฟ้าชนิดนี้ จะมีการทำงานแบบการเหนี่ยวนำไฟฟ้าโดยมีการใช้วัสดุหลักในการการทำงานคือ ขดลวดแรงดันไฟฟ้า และ ขดลวดกระแสไฟฟ้า ซึ่งบนวัตต์ของมิเตอร์ชนิดนี้จะแสดงผลโดยการที่มีเข็มชี้บนจอหน้าปัดของมิเตอร์
ส่วนเรื่องของการนำไปใช้งานนั้น ก็จะเหมือนแบบลักษณะการใช้งานทั่วไปที่นิยมมาใช้งานกับบ้าน ซึ่งจะมีค่าบอกในการใช้งานอย่างชัดเจน เช่น 1S 2S ซึ่งสัญลักษณ์ตัว S จะย่อมาจากคำว่า Supply หรือที่รู้จักกันว่า แหล่งจ่าย และ 1L 2L ซึ่งสัญลักษณ์ตัว L ก็จะย่อมาจากคำว่า Load คือ โหลดภาระทางไฟฟ้า
- วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส
มิเตอร์ไฟฟ้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในสถานที่ที่ต้องการกำลังไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม สถานที่ราชการ เพราะเป็นมิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และสามารถวัดค่าได้จำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องใช้แบบ 3 เฟส โดยจะมีการนำเอาวัตต์ฮาวร์มิเตอร์แบบ 1 เฟสมารวมกัน 3 อันจึงออกมาเป็น 3 เฟสนั่นเองค่ะ และในมิเตอร์ชนิดนี้จะมีการทำงานแบบเหนี่ยวนำไฟฟ้า และอ่านค่าตัวเลขบนหน้าปัดมิเตอร์เช่นกัน
3. วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้าของเราว่าเป็นประเภทไหน
ถ้าหากคุณอยู่บ้านหรือคอนโด มิเตอร์ไฟฟ้าของคุณจะเป็นประเภทวัตต์ฮาวร์มิเตอร์แบบ 1 เฟส อย่างแน่นอน เพราะทางการไฟฟ้าจะติดตั้งมิเตอร์ประเภท 1 เฟสให้กับทุกบ้าน ส่วนเรื่องการดูหน่วยและแอมแปร์ของมิเตอร์นั้น คุณสามารถดูได้ที่บิลค่าไฟในแต่ละเดือน ซึ่งจะมีตัวเลขรหัสที่จะบอกคุณว่าเป็นแบบไหนตามรหัสที่กำหนด
วิธีสังเกตที่ตัวมิเตอร์ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงคุณสังเกตตัวเลขด้านล่างของหน่วยวัดไฟฟ้าที่แสดงบนหน้าปัด จะมีลักษณะเมนเบรกเกอร์บอกอยู่พร้อมแอมแปร์ว่ามิเตอร์ไฟฟ้าในบ้านของคุณมีขนาดกี่แอมแปร์ ยกตัวอย่างเช่น 5(15)A หมายความว่า มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 แอมป์ แต่จะโหลดไฟฟ้าได้ไม่เกิน 15 แอมป์ นั่นเองค่ะ
4. หากมิเตอร์ไฟชำรุดต้องทำอย่างไร
หากมิเตอร์ไฟฟ้าชำรุด คุณควรที่จะแจ้งให้กับช่างไฟฟ้าหรือผู้จดหน่วยไฟฟ้าได้ทราบถึงการชำรุดเสียหาย เพราะว่า การซ่อมแซมและการเปลี่ยนมิเตอร์นั้นจะต้องติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เท่านั้น ซึ่งคุณไม่ควรที่จะซ่อมและถอดมิเตอร์ด้วยตัวเอง เพราะอาจจะทำให้คุณได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น ควรรีบแจ้งพนักงานการไฟฟ้าเพื่อมาดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
5. วิธีตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับคนซื้อบ้านใหม่
การตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับคนซื้อบ้านใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่คุณควรจะรู้ไว้ เพื่อตรวจสอบลักษณะและขนาดของมิเตอร์ โดยมีขั้นตอนที่คุณสามารถทำได้เองง่าย ๆ ดังนี้
1. ตรวจสอบลักษณะการติดตั้งของมิเตอร์ให้ได้มาตรฐาน ยกตัวอย่าง เช่น ตรวจสอบว่ามิเตอร์ชำรุดเสียหาย หรือ มีความสกปรกหรือไม่ ติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีความสกปรกคุณสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ด้วยตัวเอง
2. การทำงานและการเดินของระบบไฟฟ้า ควรจะมีความเรียบร้อยไม่มีสายระโยงรยางค์ เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
3. เรื่องขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าควรจะมีความสัมพันธ์กับกำลังไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน ยกตัวอย่างเช่น เบรกเกอร์เมนที่บ้านมีขนาด 16 แอมแปร์ ก็ควรจะมีขนาด 5(15)A จึงจะเหมาะสม หรือ แบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 30 แอมแปร์ ควรจะมีขนาด 10(30)A จึงจะเหมาะสมสำหรับบ้านของคุณ เป็นต้น
6. ถ้าไฟฟ้าแพงผิดปกติจะสามารถตรวจสอบมิเตอร์ได้อย่างไร
ถ้าหากค่าไฟที่บ้านของคุณในเดือนนี้แพงผิดปกติคุณจะสามารถตรวจสอบได้โดยการ คุณควรเช็คการใช้งานค่ากำลังไฟฟ้าของเดือนนี้ว่าคุณใช้ไปจำนวนกี่หน่วยเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงจากเดือนที่ผ่านมา ถ้าหากคุณยังเกิดข้อสงสัยก็สามารถแจ้งเรื่องตรวจสอบไปที่การไฟฟ้าได้ ซึ่งการไฟฟ้าก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านคุณ พร้อมกับตรวจสอบสายไฟเพราะอาจจะมีการรั่วไหลได้ เนื่องจากบางครั้งที่ค่าไฟมีราคาที่แพงขึ้น อาจเป็นเพราะสภาพอากาศที่ร้อน และ พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของคุณเช่น เปิดแอร์ตลอดทั้งวัน หรือใช้ไฟมากในเดือนนี้ ก็อาจจะทำให้ค่าไฟแพงขึ้นได้ไม่ผิดปกติอะไร
อีกหนึ่งเหตุผลที่คนมีบ้านไม่ควรจะมองข้ามเลยก็คือเรื่องของ “มิเตอร์ไฟฟ้า” เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการวัดค่าไฟฟ้าที่คุณได้ใช้ไปในแต่ละเดือน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายตามมาตรฐานได้ อีกทั้งคุณยังสามารถตรวจสอบมิเตอร์ที่ได้มาตรฐานได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องง้อช่างไฟ และ รู้ถึงลักษณะการจ่ายไฟของมิเตอร์ประเภทของมิเตอร์ภายในบ้านของคุณอีกด้วย ด้วยวิธีง่ายๆที่คุณเองก็ทำได้
ซ่อมบำรุงอาคาร: มิเตอร์ไฟฟ้า เรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านต้องรู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/